ประเมินสถานการณ์ขนส่งทางทะเล สำหรับปี 2564 จับตา ปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip Effect)

คำถามหนึ่งที่อยู่ในหัว ผู้นำเข้า ส่งออก รวมไปถึงผู้ให้บริการขนส่ง (และนักลงทุนด้วย) ก็คือ

สถานการณ์ที่หาสเปซบนเรือไม่ได้ และราคาขนส่งแพง “สุดขอบฟ้า” แบบนี้ จะยาวนานไปถึงเมื่อไหร่

แอดมินได้มีโอกาสคุยแลกเปลี่ยนกับพี่ๆ ในวงการ รวมไปถึง มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก Webinar ของทาง Flexport และทาง Sea Intelligence ก็เลยสรุปประเด็นสำคัญมาให้อ่านกัน

เราลองไปดูกันว่า สถานการณ์เช่นนี้ มันจะอยู่กับเราอีกนานขนาดไหน

หากพร้อมแล้ว เราไปติดตามกันเลย

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

1) หากย้อนไปดูต้นเหตุของความปั่นป่วนของการขนส่งระหว่างประเทศทางตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเล สรุปสั้นๆ จุดเริ่มต้นก็เกิดจากโควิด ทำให้เกิดความไม่สมดุลของการนำเข้า-ส่งออก ของหลายๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง สหรัฐอเมริกา

.

ผู้คนอยู่บ้าน ไม่สามารถออกไปใช้จ่ายเงินในภาคบริการได้ ก็เปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเงินมาใช้จ่ายซื้อของเพื่อทำงานจากที่บ้านแทน สหรัฐฯ ต้องนำเข้าสินค้ามากขึ้น ในขณะที่ผู้ส่งออกในสหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่คือสินค้าเกษตร ดันสวนทางส่งออกได้น้อยลง

2) ซ้ำร้ายช่วงหลัง ท่าเรือหลายๆประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ยังได้รับผลกระทบอย่างหนัก คนงานบางส่วนติดโควิด ทำให้การเคลียร์สินค้าออกจากท่าเรือ ทำได้ช้ากว่าปกติมากๆ กลายเป็นตู้เรือสินค้า ค้างอยู่กลางทะเลนั่นแหล่ะ ก็เลยไม่สามารถหมุนเวียนตู้กลับมาทางฝั่งเอเชีย ได้

.

ยกตัวอย่าง ล่าสุด ท่าเรือในลอสแองเจลลิส สหรัฐฯ มีเรือสินค้ามากกว่า 30 ลำ และมีตู้สินค้ารออยู่กว่า 300,000 TEU ที่รอคอยโหลดของอยู่ โดยปัญหาก็คือ ตัวเลขสัปดาห์ที่แล้ว คนงานที่ท่าเรือ ติดโควิดไป 700 กว่าคน จากแรงงานทั้งหมด 9 พันคน  ต้องรอกันไป 10-14 วัน อันนี้แค่ตัวอย่างท่าเรือเดียว

3) ตอบคำถามว่า สถานการณ์แบบนี้จะอยู่นานขนาดไหน? หากเราลองมองย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปี ที่แล้ว ก็พบว่าเหตุการณ์คล้ายๆ กันนี้ เกิดขึ้นมาแล้ว โดยในช่วงปี ค.ศ.2010 หลังจากผ่านพ้นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ก็ทำให้ความต้องการขนส่ง และราคาขนส่งพุ่งสูงขึ้น จนสายเรือต่างๆ มีอัตราส่วนการทำกำไรพุ่งสูงขึ้น ในช่วง 7-16% ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นก็กลับมาแข่งกันจนราคาขนส่งลดลง (ดูรูปประกอบ)

หรือหากมอง 30 ปีย้อนหลัง เกิดเหตุการณ์ประมาณนี้ 3 รอบ รอบละประมาณ 1-1.5 ปี (แต่แน่นอนว่าครั้งนี้บริบทต่างจากเดิม)

4)  ปริมาณขนส่งทางทะเลระหว่างเอเชีย และอเมริกา พุ่งสูงขึ้นกว่า 30% ในช่วงที่ผ่านมา จากการที่สหรัฐฯ เจอปัญหาต้องเร่งนำเข้า เพื่อชดเชยสินค้าคงคลังที่ร่อยหรอ ซึ่งดูเหมือนประเทศในยุโรปก็กำลังเจอปัญหาเดียวกัน

5) แต่จะเกิดอะไรขึ้น หากวัคซีนเกิดได้ผลดี สถานการณ์โควิดดีขึ้น ประชาชนชาวสหรัฐฯ ไม่ได้ต้องการซื้อของเพิ่มอีกต่อไป ลาหยุดไปเที่ยวกันดีกว่า…ผลลัพท์ก็คือ สินค้าที่สั่งมาแล้ว แต่ยังอยู่บนเรือจะทำอย่างไรดี? สุดท้าย ประเทศในเอเชียก็คงต้องชะลอการส่งออกลงโดยปริยาย กลายเป็น Demand ส่งออก หายไปดื้อๆ

6) สถานการณ์ดังกล่าวในการบริหารห่วงโซ่อุปทานและการขนส่ง มีชื่อเรียกว่า ปรากฏการณ์แส้ม้า หรือ “Bullwhip Effect” เป็นสถานการณ์ที่ปริมาณการสั่งซื้อ ของทั้งร้านค้าปลีก ค้าส่ง รวมไปถึงการผลิต มีการแกว่งตัวเพิ่มขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทาน

.

เหมือนการที่เราสะบัดแส้ม้า แล้วพบว่า ปลายแส้ด้านที่อยู่ไกลกับที่มือเราจับอยู่ จะมีการแกว่งตัวรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เทียบกับจุดที่อยู่ใกล้มือ…

7) สำหรับผู้ส่งออกจากชาติอื่นๆ ในเอเชีย ในช่วงตรุษจีนเดือนหน้า อาจดูเหมือนว่าสถานการณ์อาจดีขึ้น เพราะจีนเองก็จะชะลอความต้องการตู้ส่งออกลงบ้าง

.

แต่หลังตรุษจีน ไม่แน่อาจได้เห็นความโกลาหลอีกรอบ ซึ่งสถานการณ์คงแกว่งขึ้นๆ ลงๆ อีกซักพักใหญ่ จนกว่าจะถึงจุดสมดุล

.

ดังนั้น ใครที่ต้องส่งออกอาจต้องรีบเคลียร์ๆ ของออกไป ช่วงเดือนหน้า (และเก็บเงินให้เรียบร้อย)

8) ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดก็ต้องติดตาม สถานการณ์วิกฤตโควิด นี่แหล่ะ โดยธุรกิจคงต้องคิดแผนรับมือ เผื่อยาวไปถึงปี 2565 เร็วที่สุดสถานการณ์ก็คงกลับมาสู่ภาวะ “ปกติ” ภายใน 6 เดือน

9) แต่ภาวะ “ปกติ” ที่ว่า คงต้องเรียกว่าเป็น New Normal นั่นคือ ราคาขนส่งทางทะเล ถึงแม้จะทำสัญญากันก็คงสูงกว่าเดิมแน่ๆ ในแง่การบริหาร อาจต้องแบ่งส่วนหนึ่งทำสัญญา และบางส่วนที่ใช้ราคาตลาด spot rate

10) ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามเป็นพิเศษ ก็คือ บุคลากรที่ท่าเรือ (หรือ ท่าอากาศยาน) นั่นแหล่ะ ต้องดูแลป้องกันโควิด ให้ดี น่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด สำหรับการนำเข้า ส่งออก ช่วงนี้เลย เราได้เห็นบทเรียนจากทางสหรัฐฯ มาแล้ว หวังว่าจะไม่เดินซ้ำรอย

11) ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม สำหรับ เพื่อนผู้ประกอบการ ที่กำลังประสบปัญหา แอดมินแนะนำบริการเปรียบเทียบค่าขนส่งทั้งทางทะเล ทางอากาศ และทางบก นั่นก็คือสตาร์ทอัพไทยอย่าง “ZUPPORTS”

.

ทีมงานยินดีช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกท่าน สนใจลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษได้เลยที่  https://zupports.co/register/

——————————–

หากบทความมีประโยชน์ กดไลค์ และแชร์ให้เพื่อนๆ ได้เลย

และสำหรับคนที่สนใจหาความรู้ ด้านการนำเข้า ส่งออก เพิ่มเติม แอดมินแนะนำกลุ่ม “นำเข้า ส่งออก 101” เชิญเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้เลย

https://www.facebook.com/groups/845457579217628

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

*** แนะนำ ZUPPORTS บริการดีๆ สำหรับผู้นำเข้าส่งออก

ช่วยบริหารจัดการ ขนส่งระหว่างประเทศ ผ่านช่องทางออนไลน์

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษและข่าวสถานการณ์การค้าโลก

ได้แล้ววันนี้ที่  https://zupports.co/register/

——————————–

ที่มา: Flexport

https://www.zupports.co/bullwhip-effect-causes-and-mitigations/

——————————–

❤️ อ่านบทความย้อนหลังได้ที่

https://www.zupports.co/author/zupports/

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ใครมีสินค้าดีๆ โพสขายกันได้เลย

https://www.facebook.com/groups/573677150199055/

#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า #นำเข้า #ส่งออก

#ZUPPORTS

 

ข่าวสารอื่นๆ