นำเข้า ส่งออก 101 EP1: รู้จัก ปรากฏการณ์แส้ม้า Bullwhip Effect

สำหรับคนที่ทำงานในแวดวง การบริหารห่วงโซ่อุปทาน  (Supply Chain) หรือวงการขนส่ง น่าจะพอรู้จักคำว่า ปรากฏการณ์แส้ม้า หรือ “Bullwhip Effect”

ในบทความนี้ เราไปเรียนรู้กันว่า “Bullwhip Effect” มีที่มาจากไหน

“Bullwhip Effect” ยังสร้างความปวดหัวให้คนที่ทำงานในห่วงโซ่อุปทานหรือไม่ และเราจะรับมือปัญหานี้อย่างไรดี??

หากพร้อมแล้ว เราไปติดตามกันเลย

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

1) คำศัพท์ที่ว่า ปรากฏการณ์แส้ม้า หรือ “Bullwhip Effect” ถูกคิดค้นโดยบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคยักษ์ใหญ่ อย่าง P&G ที่สังเกตว่า ในขณะที่ความต้องการซื้อผ้าอ้อมเด็ก ของผู้บริโภคปลายทาง (End Consumer) ค่อนข้างคงที่ แต่กลับ พบว่า ปริมาณการสั่งซื้อ ของทั้งร้านค้าปลีก ค้าส่ง รวมไปถึงการผลิต กลับมีการแกว่งตัวเพิ่มขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทาน (ดังรูปด้านล่าง)

2) ทาง P&G จึงอธิบายปรากฎการณ์ดังกล่าวว่า “Bullwhip effect” เหมือนการที่เราสะบัดแส้ม้า แล้วพบว่า ปลายแส้ด้านที่อยู่ไกลกับที่มือเราจับอยู่ จะมีการแกว่งตัวรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เทียบกับจุดที่อยู่ใกล้มือ…

3) Bullwhip effect ทำให้เกิดความสูญเสียมากมาย แต่ต้นทุนส่วนเพิ่มจากการที่ต้องตุนสินค้าคงคลังมากกว่าปกติ หรือในทางตรงข้าม เก็บสินค้าคงคลังน้อยเกินไปจนไม่มีของขาย ก็จะทำให้บริษัทสูญเสียรายได้! ที่แย่กว่านั้นคือ ลูกค้าไม่พึงพอใจ หนีไปหาคู่แข่งแทน!!

4) ทางภาคการศึกษาอย่าง IMD Business School (ที่จัดทำดัชนีความสามารถการแข่งขันของประเทศต่างๆ ) ได้ร่วมกับภาคธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์ว่า ตลอด 36 ปีย้อนหลังที่ผ่านมา Bullwhip effect ยังเป็นปัญหาสำคัญอยู่หรือไม่  ผลสรุปจาก 15,000 บริษัทก็พบว่าถึงแม้จะมีความพยายามแก้ไข แต่ปัญหานี้ก็ยังมีผลกระทบอยู่

5) สาเหตุหนึ่ง อาจเกิดมาจากโลกาภิวัฒน์ ทำให้โลกเชื่อมต่อกัน บริษัทในสหรัฐฯ สั่งผลิตจากไต้หวัน มาประกอบที่จีน แล้วส่งกลับไปขาย สิ่งเหล่านี้ทำให้ต้นทุนลดลงมหาศาล แต่ก็เพิ่มความซับซ็อนในห่วงโซ่อุปทานด้วย..

6) ข้อจำกัดที่ตามมาก็คือ การที่ผู้ผลิต ปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น แต่กลับทำให้ช่วงเวลาที่สามารถขายสินค้าได้สั้นลง (ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ไอที) และการ outsource จ้างโรงงานผลิต ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องมีการสื่อสาร ส่งต่อข้อมูลที่รวดเร็ว

7) ซึ่งหากเราลองวิเคราะห์เจาะลึกถึง สาเหตุ และแนวทางแก้ไขของปัญหา Bullwhip effect ก็สามารถสรุปได้ดังนี้

8) ทั้งนี้มีประเด็นสำคัญสำหรับ คนที่ดูแลบริหารงานด้านห่วงโซ่อุปทานและการขนส่ง ก็คือ การเปรียบเทียบ ระหว่าง การควบคุมต้นทุนการขนส่ง กับ การบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้กระทบธุรกิจ โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล ก็เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่จะทำให้เกิดความโปร่งใส และชัดเจนมากขึ้น

9) เพราะในยุคที่ข้อมูล มีค่ามากกว่าทองคำแบบนี้ การนำข้อมูลต่างๆ ขึ้นมาวิเคราะห์ให้ทันท่วงที ย่อมจะช่วยทำให้การทำงานราบรื่นขึ้นอย่างแน่นอน

10) ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม สำหรับ ผู้ประกอบการ ที่กำลังมองหาเครื่องมือดิจิตอล เพื่อช่วยบริหารการนำเข้า ส่งออกสินค้า แอดมินแนะนำสตาร์ทอัพไทยอย่าง “ZUPPORTS”

.

ทีมงานยินดีช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกท่าน สนใจลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษได้เลยที่  https://zupports.co/register/

 

11) แล้ว Bullwhip ไปเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลยังไง อ่านต่อกันเลยได้ที่
https://www.zupports.co/container-seafreight-situation-2020/

——————————–

หากบทความมีประโยชน์ กดไลค์ และแชร์ให้เพื่อนๆ ได้เลย

และท่านที่สนใจความรู้ดีๆ ด้านการนำเข้า ส่งออก แบบนี้

แอดมินแนะนำกลุ่ม “นำเข้า ส่งออก 101” เชิญเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้เลย

https://www.facebook.com/groups/845457579217628

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

*** แนะนำ ZUPPORTS บริการดีๆ สำหรับผู้นำเข้าส่งออก

ช่วยบริหารจัดการ ขนส่งระหว่างประเทศ ผ่านช่องทางออนไลน์

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษและข่าวสถานการณ์การค้าโลก

ได้แล้ววันนี้ที่  https://zupports.co/register/

——————————–

ที่มา: IMD, P&G

——————————–

❤️ อ่านบทความย้อนหลังได้ที่

https://www.zupports.co/author/zupports/

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ใครมีสินค้าดีๆ โพสขายกันได้เลย

https://www.facebook.com/groups/573677150199055/

#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า #นำเข้า #ส่งออก

#ZUPPORTS

 

 

 

ข่าวสารอื่นๆ