โควิด-19 กำลังฆ่า โลกาภิวัตน์?

รู้หรือไม่ว่า “โลกาภิวัฒน์” หรือ “Globallization” เป็นคำที่เกิดมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยใน ปี ค.ศ. 1964 มีนักวิจารณ์ด้านวัฒนธรรมชาวแคนาดา Marshall McLuhan กล่าวถึง หมู่บ้านโลก (Global Village) คือปรากฎการณ์ที่โลกเชื่อมถึงกันด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคมระหว่างประเทศ

ซึ่งโลกก็ได้รู้จักกับ “อินเตอร์เนต” เป็นครั้งแรกใน 5 ปี ต่อมา เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ในประวัติของมนุษยชาติ เป็นสิ่งที่ทำให้ “ระยะทาง” ไม่ใช่ข้อจำกัดในการสื่อสาร อีกต่อไป

แต่คำว่า โลกาภิวัฒน์ ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ก็ช่วงต้นทศวรรษ 1990 นี้เอง หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

สหรัฐอเมริกา ได้ก้าวเข้ามาจัดระเบียบโลกใหม่ (The New World Order) โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ เป็นหัวหอกทะลวงฟัน เผยแพร่ทั้งความรู้, ข้อมูล, การค้า, การลงทุน, และวัฒนธรรมของสหรัฐฯ ออกไปให้ชาวโลกได้รับรู้ เป็นการ “ย่อโลก” ให้เล็กลง

แต่อย่างที่เราเห็นว่า สหรัฐฯ นึกขึ้นได้ว่าเดินเกมผิดไปหน่อย การเปิดโอกาสให้ทุกคนค้าขายอย่างเสรี ดันไปปลุกยักษ์ที่หลับไปนานอย่างจีน ให้ตื่นขึ้นมาด้วย ซึ่งสหรัฐฯ เอง ก็ยอมไม่ได้ ที่จะให้ใครมาแย่งชิงตำแหน่งเบอร์ 1 ของโลกไป จึงทำให้มีคนอย่าง โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นมา กลับขั้วความคิดอย่างสิ้นเชิง

ความถดถอยของโลกาภิวัตน์ เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว เพียงแต่ โควิด-19 เป็นตัวเร่ง ที่ทำให้ทุกอย่างเกิดเร็วขึ้นไปอีก ล่าสุดวุฒิสภาของสหรัฐฯ ก็ได้ผ่านร่างกฎหมายให้บริษัทจีนที่จดทะเบียนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทำตามมาตรฐานบัญชีของสหรัฐฯ ถ้าไม่ทำก็จะต้องถูกเพิกถอนหุ้นออกไป ซึ่งบริษัทจีนเอง ก็ดูเหมือนจะไม่ง้อ เช่น บริษัทเสิร์ชเอนจิ้นอย่าง Baidu ก็กำลังพิจารณาจะกลับบ้านเหมือนกัน

ในบทความนี้ เราลองย้อนไป ดูช่วงที่จีนก้าวขึ้นมามีบทบาทในระบบโลกาภิวัตน์  และลองไปดูบทวิเคราะห์จากทาง McKinsey ว่าระบบการค้าของโลก จะเปลี่ยนหน้าตาไปอย่างไร

หากพร้อมแล้ว เราไปติดตามกันเลย

════════════════

ผู้นำเข้า ส่งออก หาขนส่งมืออาชีพ

นึกถึง ZUPPORTS

www.zupports.co

════════════════

จุดเริ่มต้น เมื่อ ปี ค.ศ. 2001

หลังจากความพยายามถึง 15 ปี เต็ม ในการขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) จีนซึ่งตอนนั้นนำโดย อดีตประธานาธิบดี หูจิ่นเทา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก สมความตั้งใจ

11 ธันวาคม ค.ศ. 2001 จีนได้เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 143 ของ WTO เซ็นต์สัญญากันที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เป็นการเปิดประตูให้จีน เข้าสู่การค้าตลาดโลกอย่างเต็มตัว

ก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ.2000 จีนด้วยประชากรประมาณ 1 พันล้านคน เป็นประเทศที่มีการส่งออกลำดับที่ 7 ของโลก ผ่านไปเพียง 10 ปี หลังจากเข้าร่วม WTO จีนก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกสินค้า หมายเลข 1 ของโลก นำเข้าลำดับที่ 2 ของโลก และมีขนาดเศรษฐกิจ (GDP) เป็นอันดับ 2 เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

Cr. World 101

อดีตนายกรัฐมนตรีจีน เหวินเจียเป่า เคยกล่าวไว้ตอน ครบรอบ 10 ปีจีนเข้าร่วม WTO เอาไว้ว่า…

“หากเปรียบเทียบมหกรรมงานแสดงสินค้ากวางเจาเทรดแฟร์ (Canton fair) ว่าเป็น ‘หน้าต่าง’ ที่จีนเปิดหาชาวโลก, การที่จีนได้เข้าร่วม WTO ก็เหมือนเป็นการ ‘เปิดประตู’ สู่โลกภายนอก”

“ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา จีนพยายามเปิดประเทศค้าขายกับโลกภายนอก โดยวิธีการนี้เป็นหนทางที่จีน จะกลับมาแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรือง”

“จีน จะเปิดประตูเอาไว้ เช่นนี้ตลอดไป”

แต่กลับเป็นโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ปิดประตูใส่หน้าจีน (และใส่หน้า อีกหลายประเทศ)

พร้อมประกาศกร้าวว่า “Make America Great Again” ที่แปลได้ง่ายๆ ว่า “ทำให้อเมริกายิ่งใหญ่อีกครั้ง”

(เหมือนจะรู้ตัวว่ากำลังแย่)

Cr. The Trump Outlet

สหรัฐฯ ยอมให้จีน ก้าวหน้าไปมากกว่านี้ไม่ได้

จีนยอมแลก ทั้งการลดภาษีนำเข้า และการสัญญาว่าจะไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และปฏิบัติตามกฎระเบียบการค้าโลก เพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO

ฝั่ง สหรัฐฯ ที่นำโดยอดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน ตั้งสมมติฐานว่า การที่จีนเข้าสู่โลกการค้าเสรี จะให้ให้จีนมีความเป้นประชาธิปไตยมากขึ้น นอกจากนี้ทางด้าน จอร์จ บุช ยังเคยระบุไว้ว่า

“ไม่มีประเทศไหน บนโลกใบนี้ ที่จะสามารถนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ และปิดกั้นแนวคิด (โลกเสรีประชาธิปไตย) ไปได้พร้อมๆ กัน”

คือ ทั้ง คลินตัน และบุช มั่นใจมากๆ ว่า จะเปลี่ยนจีน ให้คิดแบบเดียวกับอเมริกาได้ และนอกจากนี้ การเข้าถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เนต อาจทำให้คนจีน ลุกฮือ ขึ้นมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ก็เป็นได้…

แต่ ความจริง ต่างจากความคิด

ทำไปทำมา จีนกลายเป็นโรงงานของโลก กลายเป็น โรงงานอเมริกันต้องปิดตัวเอง เพราะสู้ต้นทุนการผลิตที่จีนไม่ได้ คนจีนเองก็ไม่ได้มีความกังวลเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาสักเท่าไหร่ สินค้าก๊อปปี้ แบบซึ่งๆหน้า มีออกมาให้เห็นกันตลอด และที่สำคัญที่สุดคือ จีนตั้ง “The Great Firewall of China” เซ็นเซอร์ ข้อมูลทุกอย่างจากโลกตะวันตก

และล่าสุดที่เหนือไปกว่านั้น คือ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) รู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น เช็คชื่อคนได้ ผ่านมือถือ และกล้องวงจรปิดทั่วเมือง โดยมีโควิด-19 ช่วยสนับสนุน ให้หลายๆสิ่งเกิดได้เร็วขึ้น

สหรัฐฯ จึงยอมไม่ได้ อีกต่อไป สั่งพรรคพวก ย้ายโรงงานออกจากจีนให้หมด

แต่บริษัท อยู่ๆจะให้ย้ายออกจากจีนไปเลยได้อย่างไร? ก็เลยเกิดแนวคิดอันหนึ่งขึ้นมานั่นก็คือ “China+1” ก็คือ บริษัทที่มีฐานการผลิตหลักที่จีน ก็ยังคงอยู่ แต่ต้องพยายามมองหาแหล่งผลิตเบอร์สองเอาไว้ รองรับเหตุวิกฤต เช่น โควิด-19 ที่เจอกันอยู่ตอนนี้ และยังไม่จบง่ายๆ

Cr. Foreign Policy

จาก Just-in-time สู่ Just-in-case

ตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา บริษัทต่างๆ พยายามปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานการผลิตและการขนส่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นำโดยแนวคิดระบบการผลิตของโตโยต้า ก็คือ การผลิตแบบ “Just-in-time” ด้วยแนวคิดที่ พยายามผลิตให้เต็มกำลังการผลิตของโรงงาน และลดสินค้าคงคลังให้น้อยที่สุดจนแทบเป็นศูนย์

หลายบริษัท จบที่การเลือก จีน เป็นโรงงานผลิตหลัก หรือบางบริษัท คือ โรงงานผลิตแห่งเดียว ส่งสินค้าไปขายทั่วโลก คือ การ “Offshore” หรือข้ามโลก ไปผลิตที่จีน

แต่ทาง McKinsey นำเสนอ แนวคิดว่าบริษัท กำลังพิจารณาเลือกใช้วิธีแบบ “Just-in-case” เข้ามาใช้ เป็นระบบการบริการการผลิตและการขนส่ง ที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น อาจเรียกได้ว่าเป็นการทำ “Next shoring” หรือ ผลิตที่ประเทศข้างๆ กัน

“โรงงานที่อยู่ห่างออกไป 200 เมตร ส่งสินค้าได้ภายใน 24 ชั่วโมง บางทีอาจดีกว่า โรงงานที่อยู่ห่างออกไป 10,000 กิโลเมตร แต่ต้องใช้เวลาส่งสินค้า 25 วัน….กลยุทธ์การ Offshore อาจไม่เหมาะกับ ธุรกิจที่ใช้ความเร็วและความน่าเชื่อถือ ในการแข่งขันกับคู่แข่ง”

“Just-in-case” ถ้าแปลตรงๆ ก็แบบว่า “เผื่อเอาไว้ก่อน” เช่น สินค้าคงเหลือก็มีเผื่อเอาไว้หน่อย โดยทาง McKinsey แนะนำว่าบริษัท ควรเปลี่ยนจากคำถามที่ว่าจะผลิตในประเทศ หรือ ผลิตต่างประเทศเพื่อลดต้นทุน ไปเป็น “บริษัทสามารถสร้างห่วงโซ่อุปทาน ที่จะสร้างมูลค่าสูงสุดได้อย่างไร” ซึ่งคำตอบที่ได้ ก็จะออกมาในรูปแบบการบริหารความเสี่ยงให้มากขึ้น

Cr. Twitter

ตัวอย่างอุตสาหกรรม ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไปเต็มๆ เช่น กลุ่มสินค้าแฟชั่น ที่มีผลสำรวจ ที่ผู้บริหารต่างบอกว่า  Supplier ไม่สามารถจัดหาเสื้อผ้าได้ทันความต้องการในไตรมาสที่ 2

โลกกำลังเปลี่ยนไปสู่ระบบ Regionalization หรือ พึ่งพากันในภูมิภาค มากขึ้น

แล้วไทย จะไปอยู่ตรงไหนดี?

ทาง McKinsey ยังวิเคราะห์เพิ่มเติมว่า “อย่าคาดหวังว่ารูปแบบการทำงานแบบเดิมๆ จะกลับมา” คือ บริษัท จะใช้วิธีบริหารงานแบบ “Remote Working” หรือทำงานจากที่ไหนก็ได้ เพิ่มมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น Facebook เองก็ประกาศแล้ว ว่าจะให้อิสระพนักงาน ในการทำงานจากที่บ้าน หรือจากที่อื่นๆ นอกออฟฟิศ โดยวางเป้าว่า 50% ของพนักงาน จะทำงานจากที่บ้าน ภายใน 10 ปี

ซึ่งประเด็นนี้ แอดมินได้ฟังเจ้าสัวธนินท์ ให้สัมภาษณ์เรื่องการเชิญชวน ชาวต่างชาติที่มีฝีมือมา “Remote Working” คือ ตัวมาอยู่ที่ไทย แต่ทำงานได้ทั่วโลก อันนี้เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากๆ

แต่ก็ต้องยอมรับว่า นโยบาย China +1 นั้น ประเทศที่ได้ผลบวกจากการ +1 คงไม่ใช่ไทย แต่เป็น “เวียดนาม” ซะมากกว่า ที่มีความพร้อมกว่าไทย ในหลายๆ ด้าน

อย่างไรก็ตามต้องบอกว่า เวียดนามเอง ก็ใช่ย่อย พอโตขึ้นถึงระดับหนึ่ง คงไม่ยอมเป็นเบี้ยล่างจีน ไม่ยอมเป็น “ตัวสำรอง” หรือ Back-up ของจีนเป็นแน่

ไทยเราเองก็น่าจะยังมีโอกาสอยู่ หวังว่าผู้นำประเทศ จะนำพาประเทศผ่านวิกฤตนี้ไปได้ ออกนโยบายที่ทำให้ไทยได้ประโยชน์กับเค้าบ้าง เสริมจุดแข็งให้ยิ่งแข็งแกร่งขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์, อาหาร, และวัฒนธรรม การท่องเที่ยว

เชื่อว่า คนไทย ก็คงอยากให้ “ไทยกลับมาแข็งแกร่ง” แต่ต้องเป็นความแข็งแกร่ง แบบที่อยู่ได้บนความ “พอเพียง” ดังพระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ว่า

“…การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ. สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง”

“อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัว จะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง. อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร. บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก …”

พระองค์ท่าน ทรงเห็นมานานแล้ว โลกคงเริ่มกลับมาเห็นแนวทางเดียวกันบ้างแล้ว…

════════════════

ผู้นำเข้า ส่งออก หาขนส่งมืออาชีพ

นึกถึง ZUPPORTS

www.zupports.co

════════════════

ที่มา:

https://en.wikipedia.org/wiki/Global_village

https://www.ryt9.com/s/prg/582683

https://world101.cfr.org/global-era-issues/trade/what-happened-when-china-joined-wto

https://www.mckinsey.com/featured-insights/leadership/from-thinking-about-the-next-normal-to-making-it-work-what-to-stop-start-and-accelerate

https://www.ft.com/content/606d1460-83c6-11ea-b555-37a289098206

❤️ อ่านบทความย้อนหลังได้ที่

https://www.zupports.co/author/zupports/

👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก

https://www.facebook.com/groups/845457579217628/

http://bit.ly/35Rh2ql

ข่าวสารอื่นๆ