[Update] สถานการณ์ขนส่งประจำสัปดาห์ ราคาขนส่งทางทะเลขึ้นต่อหลังตรุษจีน!

ช่วงก่อนหยุดตรุษจีน มีการคาดการณ์ว่า สถานการณ์ขนส่งทางทะเล ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้แบบนี้ จะคงอยู่อย่างน้อยๆ ก็กลางปี 2021 นี้

แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในสหรัฐฯ ที่ดูจะควบคุมได้แล้ว ทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าของสหรัฐ ที่ยังสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีก

ตอนนี้นักวิเคราะห์หลายสำนักเริ่มคาดการณ์สถานการณ์ น่าจะยืดเยื้อไปถึงปลายปีนี้ แล้วหล่ะ! (ควรจะดีใจหรือเสียใจ…อย่างน้อยๆ คนถือหุ้นสายเรือ ก็คงดีใจล่ะนะ)

ในบทความนี้เราไปอัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศล่าสุดกัน หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

1) ทางด้านสถาบัน Maritime Strategies International (MSI) ของสหราชอาณาจักร ออกรายงานที่ระบุว่า “เนื่องจากความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเล และความหนาแน่นที่ท่าเรือ ทำให้ราคาขนส่งสินค้าทางทะเลพุ่งสูงขึ้น และความต้องการเช่าเรือสินค้า ก็เยอะกว่าปริมาณเรือที่มี ซึ่งทาง MSI คาดการณ์ว่า สถานการณ์นี้จะคงอยู่ไปถึงสิ้นปี 2021 นี้เป็นอย่างน้อย

2) นอกจากราคาขนส่งทางทะเลที่ขึ้น 3-10 เท่าตัว อย่างที่ทราบกันแล้ว ดัชนีราคาเช่าเหมาลำยังพุ่งขึ้นสูงที่สุดในรอบทศวรรษอีกด้วย

3) ทาง MSI คาดการณ์ว่า เส้นทางส่งสินค้าจากเอเชีย ไปยุโรป และเอเชียไปสหรัฐฯ จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากตรุษจีน สืบเนื่องมาจากปริมาณสินค้าที่ค้างส่งช่วงหยุดตรุษจีน และมาตรการ ที่ประเทศต่างๆ พร้อมใจกันกระตุ้นเศรษฐกิจ

.

โดยการขนส่งจากเอเชียไปสหรัฐฯ ที่ใช้เวลาค่อนนาน และท่าเรือหนาแน่น ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างการนำเข้า ส่งออก และจะทำให้ตู้สินค้า มีโอกาสกลับมาขาดแคลน

4) หากดูข้อมูลสินค้าคงคลังย้อนหลังของอุตสาหกรรมค้าปลีกในสหรัฐฯ ก็ต้องบอกว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบ 28 ปี เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว และปัจจุบันตัวเลขดังกล่าวก็ยังต่ำอยู่กว่าสถานะปกติ

.

ถึงแม้ว่าตัวเลขการนำเข้า ที่ท่าเรือ Los Angeles ในสหรัฐฯ เดือนมกราคมเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 TEU ซึ่งการนำเข้าเพียง 1 เดือน เทียบเท่า การนำเข้า 60% ของ 3 เดือนแรกของปีที่แล้ว

.

ทาง Gene Seroka ผู้บริหารท่าเรือ ที่ LA ระบุว่าเรือที่จอดค้างอยู่กว่า 50 ลำเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 113 ปีเลยทีเดียว

5) หากดูดัชนี SCFI ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็จะพบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น 50.18 จุดไปอยู่ที่ 2875.93 จุด แต่หากเราไปดูข่าวสายเรือ ก็ขยันปรับราคาขึ้นกันเหลือเกิน

6) หากเราไปมองตัวเลข แนวโน้มปริมาณคอนเทนเนอร์ในแต่ละท่าเรือ จาก Container Availability Index ก็ต้องบอกว่า สถานการณ์ตู้ก็ยังเพิ่มขึ้นที่ท่าเรือต่างๆ (แต่บางท่าเรือมันเพิ่มเพราะตู้มันมาเยอะเกินนะ ขนย้ายไม่ทัน วุ่นไปอีกแบบ)

.

แอดมินสรุปมาให้คร่าวๆ 5 พอร์ทหลัก

– Bangkok: CAx 20’ = 0.82 / CAx 40’ = 0.87 (แนวโน้มเพิ่มขึ้น)

– Laem Chabang: CAx 20’ = 0.75 / CAx 40’ = 0.77 (แนวโน้มเพิ่มขึ้น)

– Long Beach California: CAx 20’ = 0.94 / CAx 40’ = 0.93 (ตู้ค้างเยอะมาก สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น)

– Shanghai: CAx 20’ = 0.58 / CAx 40’ = 0.55 (ตู้กลับไปที่จีนเยอะพอสมควร จากเดิมอยู่แถวๆ 0.25)

– Kobe: CAx 20’ = 0.81 / CAx 40’ = 0.87 (แนวโน้มเพิ่มขึ้น)

(โดยตัวเลข CAx ที่น้อยกว่า 0.5 คือ ตู้น้อยกว่าความต้องการที่ท่าเรือนั้นๆ ลองดูรูปประกอบ กันได้)

7) สำหรับสถานการณ์หน้างาน ส่งออกจากเอเชีย ไปที่ต่างๆ ในโลก

– จีน: space ยังหายากสำหรับเรือที่ไป Transit ที่ท่าเรือ Singapore, Busan, Shekou, Ningbo, Shanghai โดยท่าเรือที่หนาแน่นก็คือ Ningbo และ Shanghai โดยรถบรรทุกหัวลากยังเป็นปัญหาในจีน

– เอเชีย: ตู้สินค้า (ที่คุณภาพดีๆ) ก็ยังมีความขาดแคลนใน จีน เวียดนาม และไทย และท่าเรือในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินเดียใต้ ก็หนาแน่น ผู้นำเข้าส่งออก ควรเผื่อใจอาจเจอดีเลย์ 5-7 วัน

– โอเชียเนีย (ออสเตรเลีย): ไม่ต้องสงสัยว่าตู้เปล่าหายไปไหน ส่วนหนึ่งวิ่งไปที่ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยสินค้าที่จะส่งออกไปโซนนี้ ลำบากหน่อยช่วงนี้

– อเมริกาใต้: โซนนี้ค่อนข้างหนัก เนื่องจากการระบาดของโควิด ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ทำให้ราคาเฟรทเพิ่มขึ้นยาวๆ ไปถึงไตรมาสที่ 4 ปีนี้แน่นอน

8) สำหรับการนำเข้า จากโซนต่างๆ มาเอเชีย

– นำเข้าจากยุโรป: เรือส่วนใหญ่ถูกจองเต็มไปถึงเดือน มีนาคมแล้ว ใครที่จะนำเข้าปริมาณมากๆ ก็เหนื่อยหน่อย ต้องวางแผนดีๆ จะจองสายเรือพิจารณาจองล่วงหน้า 5-6 สัปดาห์

– นำเข้าจากสหรัฐฯ: แย่น้อยกว่ายุโรป แต่ก็ควรจองล่วงหน้า 3-4 สัปดาห์

9) สถานการณ์ขนส่งทางอากาศ ยังแพงเหมือนเดิม คงต้องรอฟังข่าวสายการบินผู้โดยสารเชิงพาณิชย์กลับมาบิน

10) อย่างที่บอกว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับมาดี ทั้ง ปริมาณการผลิตสินค้าที่เพิ่มขึ้นเร็วที่สุดนับจากเดือน กรกฎาคม 2020 และตัวเลขอัตราว่างงาน โดยหลายๆธุรกิจก็อยากที่จะเพิ่มสินค้าคงคลังตัวเองให้เร็วที่สุด ไม่แน่ใจว่า สั่งไปสั่งมา ไม่รู้ว่าจะเจอปัญหาสินค้าคงคลังล้นสต็อกกันไหม ก็ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด…

11) สำหรับ ผู้นำเข้า ส่งออก ที่กำลังมองหาเครื่องมือดิจิตอล ช่วยลดต้นทุนขนส่ง และช่วยบริหาร การนำเข้า ส่งออก แอดมินขอแนะนำสตาร์ทัพสัญชาติไทยอย่าง “ZUPPORTS”

.

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ และข่าวสารดีๆ แบบนี้ ได้ที่ www.zupports.co/register

——————————–

หากไม่อยากพลาดความรู้ ข่าวสาร ดีๆ กดไลค์เพจ และกด Favorites ในเฟสบุ๊ก กันไว้เลย

.

และหากบทความมีประโยชน์ ก็กดไลค์โพสและแชร์ให้เพื่อนๆ กัน ได้เลยจ้า

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

(ad) พิเศษ! ZUPPORTS บริการดีๆ สำหรับผู้นำเข้าส่งออก ช่วยบริหารจัดการ ขนส่งระหว่างประเทศเปรียบเทียบราคา และจองขนส่งทั้งทางทะเล อากาศ และทางบก ได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์

.

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษและข่าวสถานการณ์การค้าโลก ได้แล้ววันนี้ที่  https://zupports.co/register/

——————————–

ที่มา: Loadstar, BDP, Flexport, ZUPPORTS

——————————–

❤️ อ่านบทความ ของ “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” ได้ที่

https://www.zupports.co/author/zupports/

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ซื้อ-ขาย สินค้าทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกลุ่มได้เลยที่

https://www.facebook.com/groups/573677150199055/

#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า#นำเข้า #ส่งออก

#ZUPPORTS

ข่าวสารอื่นๆ