สีจิ้นผิง ชี้ จีนสนใจเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP ไทยช้าระวังตกรถ…

ถือเป็นประเด็นใหญ่ ที่นักธุรกิจ และผู้นำประเทศ ต้องติดตาม โดยการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค APEC เมื่อวานนี้ ทางประธานาธิบดี สีจิ้นผิงของจีน ได้กล่าวแสดงความยินดีกับการร่วมลงนาม ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือที่เรียกย่อๆ ว่า RCEP ซึ่งกลายเป็นข้อตกลงทางการค้าและเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็น 30% ของ GDP โลก

แต่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ทางสีจิ้นผิง ยังประกาศว่า จีนเอง สนใจที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ CPTPP อีกอันหนึ่งด้วย

ถือเป็นครั้งแรกที่ สีจิ้นผิง บอกประเทศต่างๆ ว่าจีนก็อยากเข้าร่วม CPTPP เหมือนกัน!!

เพื่อนๆ ที่ติดตามข่าวเรื่องนี้มาก็คงทราบดีว่า CPTPP นั้น ถูกพัฒนามาจาก ข้อตกลง TPP (Trans-Pacific Partnership) ที่ทาง ประธานาธิบดีโอบาม่า ของสหรัฐฯ นั้นออกแบบมา เพื่อเอาไว้ใช้ลดทอนอำนาจทางการค้าของจีนลง แต่พอ ทรัมป์ เข้ามาเป็นประธานาธิบดี ก็สั่งสหรัฐฯ ให้ถอนตัว

ทางนักวิเคราะห์ของจีน มองว่าการที่จีนเข้าร่วม CPTPP นั้น เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อธุรกิจภาคบริการ อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และธุรกิจดิจิตอล ของจีน

ตัวอย่างเช่น บริษัทเทคโนโลยีจีน ไม่ว่าจะเป็น Huawei หรือ TikTok จะสามารถลดความกดดันลง และขยายธุรกิจไปทั่วโลกได้สะดวกยิ่งขึ้น

ทีนี้หากมองกลับมาที่ไทย เราลองไปดูกันว่าทั้ง RCEP และ CPTPP มีความสำคัญอย่างไร

และหากไทย เดินเกมพลาดจะเกิดผลอย่างไรบ้าง…

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

RCEP และ CPTPP มีจุดเชื่อมโยง คือ ประเทศอาเซียน

เริ่มที่ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ประกอบด้วย ประเทศ ASEAN 10 ประเทศ กับคู่ภาคีที่มีอยู่ 6 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

.

แต่ ทางอินเดีย ถอนตัวออกไปกลางคัน เพราะว่าคำนวณดูแล้ว เสียเปรียบจีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

.

แน่นอนว่า ตัวตั้งตัวตี ของ RCEP ก็คือ จีน

.

CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership) ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่นออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา เม็กซิโก ชิลี เปรู และ 4 ชาติ อาเซียน คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม

.

โดยมี 7 ประเทศ ที่ให้สัตยาบันแล้ว คือ ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และเวียดนาม

.

สำหรับประเทศที่ผลักดันให้ CPTPP ดำเนินต่อไปได้ก็คือ ญี่ปุ่น และทางญี่ปุ่นเองก็พยายามเชิญชวนประเทศพันธมิตรต่างๆ (รวมทั้งไทย ที่มีบริษัทญี่ปุ่นมาตั้งฐานการผลิตเยอะมาก) มาเข้าร่วม CPTPP ด้วย

——————————–

RCEP แทบไม่เปลี่ยนภาพโครงสร้างการค้าของไทยมากนัก

.

เนื่องมาจาก กลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และกลุ่มประเทศ Plus 5 อย่าง จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ก็มีข้อตกลงการค้าเสรี กันอยู่ก่อนหน้า ดังนั้นการค้าของไทย กับประเทศ Plus 5 ก็อาจเปลี่ยนแปลงไม่มาก

.

จะมีก็เฉพาะระหว่างประเทศ Plus 5 ด้วยกันเอง โดยเฉพาะ จีน กับ ญี่ปุ่น ที่ถือว่า RCEP เป็นข้อตกลงการค้าเสรีฉบับแรก ของทั้ง 2 ประเทศ อาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อไทยได้

.

สำหรับ RCEP เองก็มีข้อเสีย โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเกษตรกร ที่ RCEP จะทำให้เกิดการกว้านซื้อที่ดิน โดยถึงแม้ว่าประเทศ RCEP จะไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดินเพื่อทำเกษตรกรรม แต่ยอมให้นักลงทุนเช่าที่ และได้รับใยอนุญาต หรือสัมปทานด้วยเงื่อนไข ที่แตกต่างกัน

——————————–

CPTPP ทำไมถึงมีแรงต่อต้านมหาศาล?

.

แตกต่างจาก RCEP โดย CPTPP เอง มีประเทศหลายๆ ประเทศ ที่ไทยยังไม่เคยมีข้อตกลงทางการค้าด้วย ตัวอย่างเช่น แคนาคา และเม็กซิโก ซึ่งก็เป็นโอกาสในการขยายการค้าและการลงทุน

อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญ ที่มีการถกกันอย่างกวางขวาง ก็คือ ประเด็นผลกระทบต่อภาคเฏษตรกรที่อาจถูกต่างชาติผูกขาดเมล็ดพันธุ์

.

และในด้านการสาธารณสุข ที่รัฐจะไม่สามารถสงวนสิทธิประโยชน์บางประการได้ ต้องเปิดให้ประเทศอื่นเข้ามาแข่งขัน แต่ยาที่มีสิทธิบัตรเกือบทั้งหมด คือ ยาของบริษัทต่างชาติ คงทำให้ค่ายาแพงขึ้น ประชาชนเข้าถึงยาก

.

หากจะเข้าร่วม CPTPP ก็คงต้องเจรจาประเด็นเหล่านี้

.

หลายๆ สำนักระบุว่า หากเทียบว่า ไทยสามารถเจาะตลาดใหม่เพิ่มแค่แคนาดา และเม็กซิโก อาจได้ไม่คุ้มเสีย แต่ทีนี้ หากมีสหรัฐฯ กลับมา รวมไปถึง อาจมีจีนด้วย ทีนี้ก็ต้องคิดกันใหม่แล้ว ว่าไทยจะเล่นเกมส์นี้อย่างไรดี

——————————–

อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่าการที่จีนประกาศตัวแบบนี้อยากเข้าร่วม CPTPP แต่เอาเข้าจริงก็คงใช้เวลาอีกพอสมควร

.

อีกทั้งสหรัฐฯ เองที่กำลังจะได้ประธานาธิบดีจากค่ายเดโมแครตอย่าง โจ ไบเดน ก็กำลังพิจารณาที่จะกลับมาสนับสนุน CPTPP ซึ่งสหรัฐฯ เอง ก็คงไม่ยอมให้จีนมาฉวยโอกาส แสดงตัวเป็นพี่ใหญ่ ได้ง่ายๆ

.

แต่ไทยเองที่น่ากังวล อาจเป็น worst case scenario ที่สมมติอยุ่ๆ ทั้งสหรัฐฯ และจีน เลิกทะเลาะกัน แล้วอยู่ดีๆ ก็เซ็นต์ CPTPP ซะงั้น กลายเป็น WTO อันใหม่ซะเลย ถึงตอนนั้นหากเราอยากเข้า CPTPP ก็คงไม่สามารถเจรจาใดๆ ได้ ต้องยอมทำตาม

.

หรือเพียงแค่ สหรัฐฯ กลับมาเข้า CPTPP แค่นี้ไทยก็ต้องเจอคิดหนักละ เพราะสหรัฐฯ ก็เป็นคู่ค้าลำดับต้นๆของไทย ซึ่งอาจทำให้บริษัทต่างๆ ย้ายจากไทย ไปประเทศที่มีอยู่ใน CPTPP เช่น เวียดนาม กันอย่างแน่นอน

.

ไทย ต้องรีบคุยกัน วางกลยุทธ์หน่อย ก่อนที่จะตกรถ จริงๆ…

——————————–

หากบทความมีประโยชน์ กดไลค์ และแชร์ให้เพื่อนๆ ได้เลย

และหากไม่อยากพลาดบทความ กดไลค์เพจ และกด“Favorites” ในเฟสบุ๊ก กันเอาไว้ได้เลย

.

หรือหากเพื่อนๆ มีคำถามเรื่องการนำเข้า ส่งออก หรืออยากให้แอดมินเล่าเรื่องไหนให้ฟัง

ก็ส่ง inbox มาคุยกันเลยได้ที่ https://bit.ly/3j7BwBW

=========================

นำเข้า “ความรู้” ส่งออก “ความคิด” ติดตาม

“นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า”

=========================

ด่วน! สำหรับ ผู้นำเข้า ส่งออก ที่เจอปัญหา จองเรือไม่ได้ ไม่มีตู้ ค่าขนส่งขึ้นเป็นเท่าตัว!!

เชิญชวน มาทดลองใช้งาน ZUPPORTS ช่วยจอง Booking เรือ เครื่องบิน รถ ผ่านช่องทางออนไลน์

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษได้แล้ววันนี้ที่  https://zupports.co/register/

——————————–

ที่มา:

https://www.globaltimes.cn/content/1207536.shtml

https://www.posttoday.com/world/638532

——————————–

❤️ อ่านบทความย้อนหลังได้ที่

https://www.zupports.co/author/zupports/

นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ใครมีสินค้าดีๆ โพสขายกันได้เลย

https://www.facebook.com/groups/573677150199055/

#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า #นำเข้า #ส่งออก

#ZUPPORTS

ข่าวสารอื่นๆ